รายการบล็อกของฉัน

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การใช้งาน Microsoft Excel 2010


ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Excel 2010

  หน้าต่างของโปรแกรม Microsoft Excel 2010 นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่หลายส่วนด้วยกัน ดังนี้
1

ส่วนประกอบของโปรแกรม
          1. แถบชื่อเรื่อง (Title Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรม และรายชื่อไฟล์ที่ได้เปิดใช้งาน
          2. แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access) = เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงคำสั่งที่ใช้งานบ่อย
          3. ปุ่ม แฟ้ม (File) = เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเก็บคำสั่งการทำงานในโปรแกรม เช่น New Open, Save และคำสั่ง Print เป็นต้น
          4. ปุ่มควบคุม = เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมการเปิด หรือปิดหน้าต่างโปรแกรม
          5. ริบบอน (Ribbon) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายการคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานกับเอกสาร
          6. พื้นที่การทำงาน = เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ขั้นภายในเอกสาร
          7. แถบสถานะ (Status Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงจำนวนหน้ากระดาษ และจำนวนตัวอักษรที่ใช้ในเอกสาร
          8. Name Box = เป็นช่องที่ใช้แสดงชื่อเซล์ที่ใช้งานอยู่ในขณะนั้น เช่น ถ้ามีการใช้งานข้อมูลในเซลล์ A1 รายชื่อเซลล์นี้ก็จะไปแสดงอยู่ในช่อง Name Box
          9. แถบสูตร (Formula Bar) = เป็นช่องที่ใช้แสดงการใช้งานสูตรการคำนวณต่าง ๆ
          10. เซลล์ (Cell) = เป็นช่องตารางที่ใช้สำหรับบรรจุข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งช่องเซลล์แต่ละช่องนั้นจะมีชื่อเรียกตามตำแหน่งแถว และคอลัมน์ที่แสดงตำแหน่งของเซลล์ เช่น เซลล์ B1 จะอยู่ใน คอลัมน์ B ในแถวที่ 1 เป็นต้น

          11. คอลัมน์ (Column) = เป็นช่องเซลล์ที่เรียงกันในแนวตั้งของแผ่นงาน (Worksheet)
          12. แถว (Row) = เป็นช่องเซลล์ที่เรียงกันในแนวนอนของแผ่นงาน
          13. Sheet Tab = เป็นแถบที่ใช้แสดงจำนวนแผ่นงานที่เปิดขึ้นมาใช้งาน
การสร้างสมุดงาน ใน Excel 2010

 เมื่อเปิดโปรแกรม Excel 2010 ขึ้นมาใช้งานครั้งแรกนั้น จะเห็นได้ว่ามีสมุดงานขึ้นมาใช้งาน 1 ไฟล์ และในแต่ละสมุดงานนั้น ก็จะมีแผ่นงานให้ใช้งานได้ถึง 3 แผ่น แต่นอกจากสมุดงานที่โปรแกรมกำหนดให้มานั้น หากเราต้องการสร้างสมุดงานใหม่มาใช้ ก็สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 การสร้างสมุดงาน (Workbook) โดยทั่วไป
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
          2. คลิกเลือก สมุดงานเปล่า (Blank Workbook)
          3. คลิกเลือก สร้าง (Create)
1

วิธีที่ 2 การสร้างสมุดงาน (Workbook) จาก Template
          เป็นการสร้าง Workbook ขึ้นมาใช้งานจากรูปแบบ Workbook ที่มีอยู่ในโปรแกรม ซึ่ง Workbook ใหม่ที่สร้างขึ้นมาก็จะมีลักษณะเหมือนต้นแบบที่ได้เลือกไว้ทุกประการ ซึ่งทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
          2. คลิกเลือก ตัวอย่างแม่แบบ (Sample templates)
2

          3. คลิกเลือกสมุดงานที่ต้องการ
          4. คลิกปุ่ม สร้าง (Create)
3

          5. สมุดงานจะถูกสร้างขึ้นมาจากแม่แบบตามที่เลือก
4

การบันทึกสมุดงานเป็นไฟล์ 97-2003 ใน Excel 2010

 หากต้องการนำไฟล์สมุดงานไปเปิดในคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีโปรแกรม Excel 2010 หรืออาจจะมีโปรแกรม Excel ในเวอร์ชันที่ต่ำกว่า ก็ต้องบันทึกสมุดงานให้อยู่ในรูปของไฟล์ 97-2003 เสียก่อน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการบันทึกสมุดงานให้อ่านได้ใน Excel 97-2003
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File> บันทึกเป็น (Save As)
การบันทึกไฟล์งานให้อ่านได้ใน Excel 97-2003 pic1

          2. เลือกสถานที่จัดเก็บสมุดงาน
          3. กำหนดชื่อไฟล์สมุดงาน
          4. กำหนดชนิดของไฟล์ให้เป็น Excel 97-2003 Workbook
          5. คลิกปุ่ม Save
การบันทึกไฟล์งานให้อ่านได้ใน Excel 97-2003 pic2


แต่ละวิธีในการปิดโปรแกรม Excel 2010

   หลังจากที่เราทำงานในโปรแกรม Excel 2010 เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อต้องการปิดโปรแกรมลงไป ก็มีหลายวิธีด้วยกัน ดังวิธีที่จะแสดงให้ดูข้างล่างนี้

วิธีที่ 1
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File> จบการทำงาน (Exit)
วิธีปิดโปรแกรม Excel 2010 pic1

          2. หากต้องการบันทึกไฟล์ที่เปิดค้างอยู่ ให้คลิกปุ่ม Save
วิธีปิดโปรแกรม Excel 2010 pic2

วิธีที 2
          คลิกไอคอน (Icon) Excel ตรงมุมด้านซ้ายของหน้าต่างโปรแกรมแล้วเลือกคำสั่ง Close
วิธีปิดโปรแกรม Excel 2010 pic3

วิธีที่ 3
          ปุ่ม Close ซึ่งเป็นปุ่มควบคุมที่อยู่ทางมุมบนขวามือของหน้าต่างโปรแกรม
วิธีปิดโปรแกรม Excel 2010 pic4
การกำหนดขนาดหน้ากระดาษสมุดงาน ใน Excel 2010

เราสามารถกำหนดขนาดหน้ากระดาษของสมุดงานที่สร้างขึ้นมาได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

วิธีการกำหนดขนาดหน้ากระดาษ ตามที่โปรแกรมกำหนดมาให้
          1. คลิกแท็บ เค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout)
การกำหนดขนาดหน้ากระดาษ 1

          2. คลิกเลือก ขนาด (Size) แล้วเลือกขนาดกระดาษที่ต้องการ
          3. จะได้ขนาดหน้ากระดาษของสมุดงานตามที่กำหนด
การกำหนดขนาดหน้ากระดาษ 2


การกำหนดแนวสมุดงานใน Excel 2010

สมุดงานที่จะสร้างขึ้นมานั้น เราสามารถกำหนดได้ว่าจะสร้างขึ้นมาในแนวตั้ง หรือแนวนอน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการกำหนดแนวสมุดงาน
          1. คลิกแท็บ เค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout)

1

          2. คลิกเลือก การวางแนว (Orientation) แล้วเลือกสมุดงานที่ต้องการ

2

          3. พิมพ์สมุดงานออกมา ก็จะแสดงข้อมูลขึ้นมาตามแนวที่กำหนด

3


การพิมพ์ข้อมูลพร้อมกันหลายเซลล์ใน Excel 2010

    นอกจากจะสามารถพิมพ์ข้อมูลลงไปทีละเซลล์ได้แล้ว เรายังสามารถพิมพ์ข้อมูลเดียวกันลงไปทีละหลาย ๆ ช่องเซลล์ได้ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการพิมพ์ข้อมูลพร้อมกันหลายเซลล์
          1. เลือกเซลล์แรกที่ต้องการพิมพ์ข้อมูลลงไป
          2. กดแป้น Ctrl ค้างไว้แล้วเลือกเซลล์อื่น ๆ จนครบ

1

          3. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการลงไป แล้วกดแป้น Ctrl + Enter

2


หลากหลายวิธีในการเลือกเซลล์ของ Excel 2010

 นอกจากจะสามารถพิมพ์ข้อมูลลงไปทีละเซลล์ได้แล้ว เรายังสามารถพิมพ์ข้อมูลเดียวกันลงไปทีละหลาย ๆ ช่องเซลล์ได้ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

การเลือกทีละเซลล์
          1. คลิกเลือกเซลล์ที่ต้องการ
          2. ชื่อเซลล์จะปรากฏขึ้นมาในช่อง Name Box

1

การเลือกเซลล์ที่วางเรียงติดกัน
          1. คลิกเลือกเซลล์แรกที่ต้องการ
          2. คลิกลากเมาส์ให้ครอบคลุมทุกเซลล์ที่ต้องการ

2

การเลือกเซลล์ที่ไม่ได้วางเรียงติดกัน
          1. คลิกเลือกเซลล์หรือกลุ่มเซลล์แรกที่ต้องการ
          2. กดแป้น Ctrl ค้างไว้ แล้วเลือกเซลล์ที่ต้องการให้ครบ

3

การเลือกเซลล์ทั้งคอลัมน์
          1. คลิกที่หัวคอลัมน์ที่ต้องการ
          2. เซลล์ทุกเซลล์ในคอลัมน์นั้นก็จะถูกเลือกขึ้นมา

4

การเลือกคอลัมน์หลาย ๆ คอลัมน์ที่วางติดกัน
          1. คลิกคอลัมน์แรกที่ต้องการ
          2. กดแป้น Shift ค้างไว้ แล้วเลือกคอลัมน์ที่ต้องการจนครบ

5

การเลือกคอลัมน์หลาย ๆ คอลัมน์ที่ไม่ได้วางติดกัน
          1. คลิกคอลัมน์แรกที่ต้องการ
          2. กดแป้น Ctrl ค้างไว้ แล้วเลือกคอลัมน์ที่ต้องการจนครบ

6

การเลือกเซลล์ทั้งแถว
          1. คลิกที่หัวแถวที่ต้องการ
          2. เซลล์ทุกเซลล์ในแถวนั้นก็จะถูกเลือกขึ้นมา

7

การเลือกแถวหลาย ๆ แถวที่วางติดกัน
          1. คลิกแถวแรกที่ต้องการ
          2. กดแป้น Shift ค้างไว้ แล้วเลือกแถวที่ต้องการจนครบ

8
9

การเลือกแถวหลาย ๆ แถวที่ไม่ได้วางติดกัน
          1. คลิกแถวแรกที่ต้องการ
          2. กดแป้น Ctrl ค้างไว้ แล้วเลือกแถวที่ต้องการจนครบ

10

การเลือกเซลล์ทั้งเวิร์กชีต
          1. คลิกปุ่มมุมบนด้านซ้ายมือของเวิร์กชีต
          2. เซลล์ท้้งเซลล์ก็จะถูกเลือกขึ้นมา

11

การเลือกเซลล์โดยการใช้เมนูคำสั่ง
          การเลือกเซลล์โดยการใช้เมนูคำสั่งนั้น เป็นการช่วยในการเลือกเซลล์ที่ไม่อยู่ในหน้าจอโปรแกรม ซึ่งการเลือกเซลล์โดยการใช้เมนูคำสั่งนั้นทำได้โดย
          1. คลิกเมนู ค้นหา และเลือก (Find & Select> ไปที่ (Go To)

12

          2. พิมพ์ชื่อเซลล์ที่ต้องการ
          3. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

13

          4. เซลล์ที่เลือกไว้ก็จะแสดงขึ้นมา

14


การแก้ไขข้อมูลในเซลล์ของ Excel 2010

การแก้ไขข้อมูลในเซลล์ สามารถทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

วิธีการแก้ไขข้อมูลในเซลล์
          - การพิมพ์ทับแก้ไขข้อมูล
          1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแก้ไขข้อมูล
          2. พิมพ์ข้อมูลใหม่ลงไป

1

          - การเรียกข้อมูลเก่าขึ้นมาแก้ไข
          1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแก้ไขข้อมูล แล้วกดแป้น F2 หรือใช้เมาส์ดับเบิ้ลคลิกก็ได้
          2. แก้ไขข้อมูลที่ต้องการ

2


การลบข้อมูลภายในเซลล์ของ Excel 2010

การลบข้อมูลที่อยู่ภายในเซลล์นั้น สามารถทำได้ดังนี้

วิธีการลบข้อมูลภายในเซลล์
          1. เลือกเซลล์ที่ต้องการลบข้อมูล แล้วกดแป้น Delete บนคีย์บอร์ด

1

          2. ข้อมูลภายในเซลล์ก็จะถูกลบออกไป

2

การยกเลิกคำสั่งลบข้อมูล
          หากต้องการยกเลิกคำสั่งการลบข้อมูลในเซลล์ ก็สามารถทำได้ดังนี้
          1. คลิกเลือก เลิกทำ (Undo)

3

          2. ข้อมูลที่ถูกลบก็จะกลับมาเหมือนเดิม

4


การแทรกแถวและคอลัมน์ใน Excel 2010

    การแทรกแถวใหม่ลงไปในตาราง ก็สามารถทำได้ดังนี้

วิธีการแทรกแถว
          1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแทรกแถว
          2. คลิกเลือก แทรก (Insert> แทรกแถวในแผ่นงาน (Insert Sheet Rows)

1

          3. แถวใหม่ก็จะถูกแทรกขึ้นมา

2

วิธีการแทรกคอลัมน์
          การแทรกคอลัมน์ใหม่ลงไปในตาราง สามารถทำได้ดังนี้
          1. เลือกเซลล์ที่ต้องการแทรกคอลัมน์
          2. คลิกเลือก แทรก (Insert> แทรกคอลัมน์ในแผ่นงาน (Insert Sheet Columns)

3

          3. คอลัมน์ใหม่ก็จะถูกแทรกขึ้นมา

4


การลบแถว และ คอลัมน์ ใน Excel 2010

การลบแถว
          การลบแถวออกไปจากหน้าแผ่นงานทำได้โดย
          1. เลือกแถวที่ต้องการลบ
          2. เลือก ลบ (Delete> ลบแถวในแผ่นงาน (Delete Sheet Rows)

1

          3. แถวที่เลือกไว้ก็จะถูกลบออกไป

2

การลบคอลัมน์
          การลบคอลัมน์ออกไปจากหน้าแผ่นงานทำได้โดย
          1. เลือกคอลัมน์ที่ต้องการลบ
          2. เลือก ลบ (Delete> ลบคอลัมน์ในแผ่นงาน (Delete Sheet Columns)

3

          3. คอลัมน์ที่เลือกไว้ก็จะถูกลบออกไป

4
การปรับขนาดแถว และคอลัมน์ในแผ่นงานของ Excel 2010

 การปรับขนาดแถว และคอลัมน์ในแผ่นงาน สามารถทำได้หลายลักษณะด้วยกัน คือ

วิธีการปรับความกว้างของคอลัมน์
          1. คลิกเมาส์บริเวณเส้นแบ่งคอลัมน์

1

          2. คลิกลากเมาส์ปรับความกว้างของคอลัมน์

2

          3. คอลัมน์จะมีความกว้างตามที่กำหนด

3

วิธีการปรับความสูงของแถว
          1. คลิกเมาส์บริเวณเส้นแบ่งแถว

4

          2. คลิกลากเมาส์ปรับความสูงของแถว

5

          3. แถวจะมีความสูงตามที่กำหนด

6
การคัดลอกข้อมูลใน Excel 2010

    หากต้องการนำข้อมูลจากในตำแหน่งหนึ่งไปจัดวางในอีกตำแหน่งหนึ่งของตาราง ก็สามารถทำได้ด้วยการคัดลอกข้อมูล ซึ่งการคัดลอกข้อมูลนั้น สามารถทำได้ดังนี้

วิธีการคัดลอกข้อมูล
          1. คลิกเลือกเซลล์ที่ต้องการคัดลอก
          2. คลิกเลือก คัดลอก (Copy)

1

          3. คลิกเลือกตำแหน่งที่จะนำข้อมูลไปจัดวาง
          4. คลิกเลือก วาง (Paste)
          5. ข้อมูลก็จะถูกนำไปจัดวางในเซลล์ที่เลือก

2


การย้ายข้อมูลใน Excel 2010

 เป็นการย้ายข้อมูลจากตำแหน่งหนึ่งไปจัดวางในตำแหน่งใหม่ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการย้ายข้อมูล
          1. คลิกเลือกเซลล์ที่ต้องการย้ายตำแหน่ง
          2. คลิกเลือก ตัด (Cut)

1

          3. คลิกเลือกตำแหน่งที่จะนำข้อมูลไปจัดวาง

2

          4. คลิกเลือก วาง (Paste)
          5. ข้อมูลก็จะถูกนำไปจัดวางในตำแหน่งที่กำหนด

3


การเลือกแผ่นงานหลายแผ่นงานใน Excel 2010

 ก่อนจะทำงานใด ๆ ในเวิร์กชีต ก็ต้องเลือกแผ่นงานที่จะใช้งานขึ้นมาเสียก่อน ซึ่งการเลือกแผ่นงานนั้นทำได้ดังนี้

วิธีการเลือกแผ่นงาน
          1. เลือกแผ่นงานที่ต้องการ เมื่อต้องการเลือกเพิ่มให้กดปุ่ม Ctrl บนคีย์บอร์ด

1

          2. เลือกแผ่นงานที่ต้องการอีก ยังคงกดปุ่ม Ctrl ค้างอยู่
          3. แผ่นงานที่เลือกไว้ก็จะแสดงขึ้นมา

2


การเพิ่มแผ่นงานใน Excel 2010

 หากแผ่นงานที่ถูกกำหนดไว้ในสมุดงานมีไม่เพียงพอ ก็สามารถเพิ่มแผ่นงานขึ้นมาได้ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการเพิ่มแผ่นงาน
          1. คลิกเมาส์ขวาบริเวณแถบชื่อแผ่นงาน แล้วเลือก แทรก (Insert)

1

          2. คลิกเลือก แผ่นงาน (Worksheet)
          3. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

2
3


การเปลี่ยนชื่อเวิร์คชีตใน Excel 2010

หากต้องการเปลี่ยนชื่อเวิร์คชีตก็สามารถทำได้ดังนี้

วิธีการเปลี่ยนชื่อเวิร์คชีต
          1. คลิกเมาส์ขวาบริเวณแถบชื่อแผ่นงาน แล้วเลือก เปลี่ยนชื่อ (Rename)

1

          2. ปรับเปลี่ยนชื่อสมุดงานได้ตามต้องการ

2


การเปลี่ยนสีแถบชื่อแผ่นงานใน Excel 2010

 การเปลี่ยนสีแถบชื่อแผ่นงาน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการเปลี่ยนสีแถบชื่อแผ่นงาน
          1. คลิกเมาส์ขวาที่แถบชื่อแผ่นงาน 
          2. เลือกคำสั่ง สีแท็บ (Tab Color) แล้วเลือกสีที่ต้องการ

1

          3. แถบสีแผ่นงานจะถูกปรับเปลี่ยนสีตามที่กำหนด

2


การลบแผ่นงานใน Excel 2010

  หากแผ่นงานใดที่ไม่มีการใช้งานอีกต่อไป ก็สามารถลบออกไปได้ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการลบแผ่นงาน
          1. คลิกเมาส์ขวาที่แถบชื่อแผ่นงาน แล้วเลือกคำสั่ง ลบ (Delete)

1

          2. คลิกปุ่ม ลบ (Delete)

2

          3. แผ่นงานนั้นก็จะถูกลบออกไป

3
การย้ายตำแหน่งแผ่นงานใน Excel 2010

  การสลับตำแหน่งของแผ่นงานนั้นทำได้หลายลักษณะ ดังนี้

วิธีการย้ายตำแหน่งแผ่นงาน
          1. คลิกเมาส์บนชื่อแผ่นงาน

1

          2. คลิกเมาส์นำแผ่นงานไปจัดวางในตำแหน่งที่ต้องการ

2

          3. แผ่นงานก็จะถูกสลับการจัดวางตำแหน่งตามที่กำหนด

3


การคัดลอกแผ่นงานใน Excel 2010

   เป็นการสำเนาแผ่นงานจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

วิธีการคัดลอกแผ่นงาน
          1. คลิกเมาส์ขวาบนแผ่นงานที่ต้องการคัดลอก แล้วเลือกคำสั่ง ย้ายหรือคัดลอก (Move or Copy)

1

          2. เลือกแผ่นงานที่จำนำแผ่นงานที่คัดลอกไปจัดวาง
          3. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

2

          4. แผ่นงานที่คัดลอกจะถูกนำไปจัดวางในตำแหน่งใหม่

3


การซ่อนแผ่นงานใน Excel 2010

ถ้าไม่ต้องากรให้แสดงแผ่นงานขึ้นมาให้บุคคลอื่นใช้งานก็ให้ปิดซ่อนลงไปด้วยขั้นตอนดังนี้

วิธีการซ่อนแผ่นงาน
          1. คลิกเมาส์ขวาที่แผ่นงานที่ต้องการซ่อน แล้วเลือกคำสั่ง ซ่อน (Hide)

1

          2. แผ่นงานจะถูกปิดซ่อนลงไป

2

วิธีการยกเลิกแผ่นงานที่ซ่อนไว้
          การยกเลิกการซ่อนแผ่นงาน และเรียกแผ่นงานนั้นกลับขึ้นมาใช้งานอีกครั้งทำได้ดังนี้
          1. คลิกเมาส์ขวาบนแถบชื่อแผ่นงาน แล้วเลือกคำสั่ง ยกเลิกการซ่อน (Unhide)

3

          2. เลือกแผ่นงานที่ต้องการแสดงขึ้นมา
          3. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

4

          4. แผ่นงานที่ถูกซ่อนไว้ก็จะแสดงขึ้นมา

5

การล็อกเซลล์ใน Excel 2010


  เป็นการป้องกันไม่ให้มีการแก้ไขข้อมูลที่อยู่ภายในเซลล์ได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

วิธีการล็อกเซลล์
          1. เลือกเซลลที่ต้องการ
          2. คลิกแท็บ หน้าแรก (Home)

1

          3. คลิกเลือก รูปแบบ (Format> ล็อกเซลล์ (Lock Cell)

2


การป้องกันแผ่นงานใน Excel 2010


เป็นการป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นสามารถแก้ไขข้อมูลใด ๆ บนแผ่นงานได้ ซึ่งการป้องกันแผ่นงานนั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการป้องกันแผ่นงาน
          1. คลิกแท็บ ตรวจทาน (Review)
          2. คลิกเลือก ป้องกันแผ่นงาน (Protect Sheet)

1

          3. กำหนดรหัสผ่านที่ต้องการ
          4. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

2

          5. ยืนยันรหัสผ่านที่ได้สร้างขึ้น
          6. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

3


การยกเลิกการป้องกันแผ่นงานใน Excel 2010


 การยกเลิกการป้องกันแผ่นงานนั้น ทำได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้

วิธีการยกเลิกการป้องกันแผ่นงาน
          1. คลิกแท็บ ตรวจทาน (Review)
          2. คลิกเลือก ยกเลิกการป้องกันแผ่นงาน (Unprotect Sheet)

1

          3. พิมพ์รหัสผ่านที่กำหนดไว้
           4. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

2


การกำหนดแบบอักษรที่ต้องใช้งานอยู่ประจำใน Excel 2010


ถ้าต้องการกำหนดรูปแบบตัวอักษรที่จะใช้เป็นมาตรฐานในการใช้งานโปรแกรม สามารถทำได้ดังนี้

วิธีการกำหนดแบบอักษรที่ต้องใช้งานอยู่ประจำ
          1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File> ตัวเลือก (Options)

1

          2. คลิกแท็บ ทั่วไป (General)
          3. กำหนดรูปแบบตัวอักษรที่ต้องการ
          4. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

2


การกำหนดรูปแบบตัวเลขใน Excel 2010


การกำหนดรูปแบบตัวเลขในช่องเซลล์ สามารถทำได้ดังนี้

วิธีการกำหนดรูปแบบตัวเลข
          1. เลือกเซลล์ที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวเลข

1

          2. คลิกแท็บ หน้าแรก (Home)
          3. คลิกปุ่มลูกศรในส่วนของ ตัวเลข (Number)

4

          4. คลิกเลือก ตัวเลข (Number)
          5. กำหนดรูปแบบการแสดงลักษณะตัวเลขตามต้องการ
          6. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)
2

          7. จะได้รูปแบบตัวเลขตามที่เราเลือก

3


การกำหนดรูปแบบการแสดงวันที่ใน Excel 2010


นอกจากการกำหนดรูปแบบตัวอักษร และรูปแบบตัวเลขได้แล้ว ยังสามารถกำหนดรูปแบบการแสดงวันที่ภายในเซลล์ได้อีกด้วย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการกำหนดรูปแบบการแสดงวันที่
          1. เลือกเซลล์ที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบวันที่

1

          2. คลิกแท็บ หน้าแรก (Home)
          3. คลิกปุ่มลูกศรในส่วนของ ตัวเลข (Number)

2

          4. คลิกเลือก วันที่ (Date)
          5. กำหนดรูปแบบวันที่
          6. คลิกปุ่ม ตกลง (OK)

3

          7. ก็จะได้รูปแบบวันที่ที่เราต้องการ

4


การจัดวางข้อความภายในเซลล์ของ Excel 2010


 การจัดวางข้อความภายในเซลล์นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการจัดวางข้อความกึ่งกลางเซลล์ การจัดวางข้อความชิดทางด้านขวามือของเซลล์เป็นต้น ซึ่งการจัดวางข้อความภายในเซลล์นั้นทำได้โดย

วิธีการจัดวางข้อความภายในเซลล์
          1. คลิกเลือกเซลล์ที่ต้องการ

1

          2. คลิกแท็บ หน้าแรก (Home)
          3. เลือกรูปแบบการจัดวางข้อความที่ต้องการ

2

          4. ข้อความก็จะถูกจัดวางตามที่กำหนด

3


การผสานเซลล์ใน Excel 2010
การผสานเซลล์ เป็นการรวมเซลล์หลาย ๆ เซลล์เข้าด้วยกัน มักใช้เมื่อต้องการพิมพ์ข้อความยาว ๆ ลงไป ซึ่งการผสานเซลล์นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการผสานเซลล์
         1. คลิกเลือกช่วงเซลล์ที่ต้องการ

1

          2. คลิกเลือก ผสานและจัดกึ่งกลาง (Merge & Center)

2

          3. เซลล์ที่เลือกไว้ก็จะถูกนำมารวมกันจนเป็นเซลล์เดียว

3


การกำหนดสีให้พื้นเซลล์ใน Excel 2010
  การกำหนดสีให้พื้นเซลล์มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

วิธีการกำหนดสีให้พื้นเซลล์
          1. คลิกเลือกช่องเซลล์ที่ต้องการใส่สีลงไป

1

          2. คลิกเลือก สีเติม (Fill Color) แล้วเลือกสีพื้นเซลล์ที่ต้องการ

2

          3. เซลล์ที่เลือกก็จะมีพื้นสีตามที่กำหนด

3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น